บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

วิทยาศาสตร์กับศาสนาศักดิ์เท่ากัน


ข้อพิสูจน์เรื่องทฤษฏีเวลาและทฤษฎีแรงโน้มถ่วง

สิ่งที่จะพิสูจน์ในเรื่องดังกล่าวได้อย่างชัดเจนและพบเห็นกันโดยทั่วไปก็คือ ระบบ GPS ซึ่งปัจจุบันสามารถบรรจุลงไปในโทรศัพท์มือถือได้แล้ว

ระบบ GPS เป็นระบบที่จะบ่งบอกว่า เราอยู่ที่ไหนในโลก ณ เวลาหนึ่งๆ นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาและนำมาใช้ประโยชน์มากมายในชีวิตประจำวัน เช่น ติดตามรถหาย บอกถึงทิศทางและสถานที่ในการขับรถ ฯลฯ เป็นต้น

ระบบ GPS ดังกล่าว ถ้าใช้ทฤษฎีของนิวตันคำนวณ จะบอกตำแหน่งผิดไปเป็นไมล์ๆ เป็นกิโลเมตรๆ เลยทีเดียว 

ต้องใช้สูตรของทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ ซึ่งนำเวลา ความเร็วของดาวเทียม ตำแหน่งของรถยนต์ (ในกรณีติดตามรถหาย) ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับความเร็วและแรงโน้มถ่วงของทุกสิ่งเข้ามาคำนวณด้วย จึงจะสามารถระบุตำแหน่งได้อย่างถูกต้อง

ระบบดังกล่าวนั้น เมื่อระยะแรกๆ ได้พัฒนามาใช้ในทางทหาร จะเห็นว่า เมื่อฝ่ายทหารของสหรัฐอเมริกาจะทิ้งระเบิดลงอัฟกานิสถาน หรืออิรักนั้น 

ทหารภาคพื้นดินจะระบุเป้าหมายให้ทราบก่อน  ระเบิดจะมีความฉลาดสามารถถ่ายทอดผ่านโทรทัศน์ได้ว่า ทิ้งลงถูกตำแหน่งหรือไม่ 

กล่าวกันว่า แม้กระทั่งเหรียญบาทของไทย  ถ้าทหารของอเมริกันจะทิ้งระเบิดลง ก็สามารถกระทำได้  นั่นก็คือ การใช้ทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์มาคำนวณ

จะเห็นได้ว่า ความเข้าใจของวิทยาศาสตร์เก่าที่ว่า วิธีการหาความรู้ของตนเป็นสิ่งที่จริงแท้แล้ว สามารถค้นหาความจริงได้แล้ว เป็นความเข้าใจผิดโดยสิ้นเชิง เพราะ วิทยาศาสตร์เก่าหาความจริงได้น้อยมาก และหาความจริงได้เฉพาะที่เท่านั้น

ตัวอย่างอีกประหนึ่งก็คือ กรณีของดาวพลูโต ดาวพลูโตได้รับการจัดว่าเป็นหนึ่งในดาวนพเคราะห์มาหลายร้อยปี อยู่มาวันดีคืนดี นักวิทยาศาสตร์ได้เอาดาวพลูโตออกจากระบบดาว นพเคราะห์ และบอกว่าที่ผ่านมาเป็นเรื่องเข้าใจผิด

นั่นก็แสดงให้เห็นชัดเจนว่า วิทยาศาสตร์เก่าไม่ได้เป็นความจริงแท้ (reality truth) แต่ประการใด

เมื่อนักฟิสิกส์ใหม่ค้นพบข้อผิดพลาดของวิทยาศาสตร์เก่ามากขึ้นเรื่อยๆ อำนาจในการจัดการความรู้ของวิทยาศาสตร์เก่าจึงหลุดลอยไป หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ความยิ่งใหญ่ของวิทยาศาสตร์เก่าก็ถูกทำลายลงไปด้วยวิทยาศาสตร์ใหม่หรือ ฟิสิกส์ใหม่นั่นเอง

เป็นที่น่าสงสัยว่า ฟิสิกส์ใหม่เดินตามรอยของวิทยาศาสตร์เก่าหรือไม่ กล่าวคือแสดงความอหังการ์ว่า องค์ความรู้ของตนเป็นความจริงยิ่งกว่าองค์ความรู้อื่นใด

ผลปรากฏว่า นักฟิสิกส์ใหม่ได้รู้เห็นถึงความผิดพลาดของพระในศาสนาคริสต์และนักวิทยา ศาสตร์เก่าได้เป็นอย่างดี  ทำให้นักฟิสิกส์ใหม่เข้าใจดีว่า องค์ความรู้ใดๆ ก็ตามต่างก็มีแนวทางในการศึกษาของตน

องค์ความรู้ใดองค์ความรู้หนึ่งไม่สามารถไปตัดสินว่าองค์ความรู้อื่นๆ ถูกต้องเป็นจริงหรือไม่

ถ้าทำเช่นนั้น ผลของการศึกษาจะไม่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง (reality)  ถ้าต้องการศึกษาให้ได้ผลที่ถูกต้องตามความจริงแล้ว จะศึกษาสิ่งใดก็ตามก็ควรที่จะศึกษาไปตามกลวิธีของสิ่งนั้นๆ

ฟิสิกส์ใหม่จึงเปิดโอกาสให้องค์ความรู้ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศาสนาได้มีโอกาสโต้เถียงอย่างอิสรเสรีได้อีกครั้งหนึ่ง

ศาสนาพุทธ

เมื่อเปรียบเทียบจุดกำเนิดระหว่างวิทยาศาสตร์ ปรัชญาตะวันตก และศาสนาพุทธจะเห็นได้ว่า ศาสนาพุทธมีความเก่าแก่มากกว่าวิทยาศาสตร์เก่าประมาณ 2,000 ปี

ส่วนปรัชญากรีกถือกำเนิดหลังศาสนาพุทธหลายสิบปี หลักฐานก็คือ องค์ความรู้ของปรัชญากรีกนั้น เริ่มนับตั้งแต่ยุคของโสเครติส หลักฐานในทางประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า โสเครติสเกิดหลังจากพระพุทธเจ้าประสูติหลายสิบปี

เมื่อเปรียบเทียบวิธีหาความรู้ก็แตกต่างกันอย่างมาก พระพุทธเจ้าใช้วิธีปฏิบัติธรรม ส่วนวิทยาศาสตร์กับปรัชญาตะวันตกใช้ความเป็นเหตุผล (Rationality) 

ที่แตกต่างกันระหว่างวิทยาศาสตร์กับปรัชญาตะวันตกคือ วิทยาศาสตร์เน้นประสบการณ์ในการศึกษาค้นคว้า ทดลองด้วย แต่ปรัชญาตะวันตกไม่การกระทำเช่นนั้น

จากที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ในการศึกษาสาขาวิชาต่างๆ ในปัจจุบันนี้  ถ้านำเอาวิชาอื่นๆ เช่นวิทยาศาสตร์หรือปรัชญาเข้าไปเป็นผู้พิพากษาหรือเป็นเกณฑ์ในตัดสิน ก็จะเป็นเหตุให้ ผลของการศึกษาไม่ตรงกับความจริง

พูดให้เข้าใจง่าย องค์ความรู้ต่างๆ มีศักดิ์ศรีและความเป็นองค์ความรู้เท่ากัน ไม่มีองค์ความรู้ใดดีกว่า จริงกว่าองค์ความรู้อื่น

หลักการดังกล่าวนั้น พูดง่าย ทำยาก

เพื่อให้เนื้อหาของบทความสั้นลง ผู้เขียนขออธิบายเครื่องมือที่ใช้การศึกษาของบทความนี้เลยว่า จะใช้หลักของวิชาภาษาศาสตร์ (Linguistics) เป็นเครื่องมือในการศึกษา

วิชาภาษาศาสตร์นี้เป็นวิชาใหม่ เกิดหลังวิทยาศาสตร์  นักวิชาการยอมรับว่า วิชาภาษาศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์ทางภาษา ดังนั้น จึงน่าจะเป็นเครื่องมือที่เป็นกลางพอสมควร

โดยสรุป 
ในบทความนี้จะใช้การอธิบายเป็นหลักการหลักหรือหลักการสำคัญ  องค์ความรู้ใดอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติได้ดีกว่า ครอบคลุมกว่าก็น่าจะได้รับการยอมรับมากกว่าองค์ความรู้อื่นๆ

สำหรับเครื่องมือก็จะใช้หลักของวิชาภาษาศาสตร์ เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่มีความเป็นวิทยาศาสตร์สูงกว่าเครื่องมือชนิด อื่นๆ  สามารถอธิบายได้อย่างสมเหตุสมผล และมีหลักฐานประกอบยืนยันอย่างชัดเจน...

บทความในชุดเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น