บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

“เชื่อ” องค์ความรู้ตามความเชี่ยวชาญ

เปรียบเทียบองค์ความรู้ของวิทยาศาสตร์ ปรัชญาตะวันตกและศาสนาพุทธ


องค์ความรู้ทั้ง 3 ประการข้างต้น ศาสนาพุทธเกิดก่อนโดยวิธีการปฏิบัติธรรม ไม่ขึ้นอยู่กับความเป็นเหตุผล (Rationality) สำหรับประสบการณ์ในการปฏิบัติธรรมนั้นก็จะแตกต่างไปจากวิทยาศาสตร์ เพราะ การปฏิบัติธรรมใช้ ใจเป็นเครื่องมือ ส่วนวิทยาศาสตร์จะใช้ประสบการณ์ซึ่งรับได้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย

สำหรับสิ่งที่เหมือนกันระหว่างวิทยาศาสตร์กับปรัชญาตะวันตกคือ องค์ความรู้จะต้องมีความสมเหตุสมผล จึงจะถือว่าความรู้นั้นเป็นความจริง

วิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอนมีประสิทธิภาพในการหาความรู้คับแคบ เพราะ หาความรู้ได้เฉพาะในโลกนี้เป็นส่วนใหญ่เท่านั้น 

กล่าวคือ ไม่สามารถศึกษาเข้าไปลึกๆ ถึงสภาวะของอะตอมอย่างเช่นกลอนศาสตร์ควอนตัมได้ ไม่สามารถศึกษาในระดับพหุภพ (multi-verse) ดังเช่นทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ได้

สำหรับปรัชญาตะวันตกเนื่องจากวิธีการศึกษาจำกัดขอบเขตเฉพาะการใช้เหตุผล และไม่เชื่อว่ามีองค์ความรู้หาความจริง (truth) ที่ตรงกับความเป็นจริง (Reality) ได้แล้ว

ในการศึกษาจึงจะดึงหรือหยิบส่วนที่นักปรัชญาพอใจมาศึกษา โดยทิ้งส่วนที่ไม่สนใจออกไป วิธีการศึกษาเช่นนี้จึงไม่สามารถหาความจริงได้ ซึ่งนักปรัชญาส่วนใหญ่ยอมรับกันแล้ว

จะเห็นได้ว่า องค์ความรู้ของศาสตร์ตะวันตกคือ วิทยาศาสตร์ทั้ง 2 ยุคและปรัชญาต่างก็มีวิธีการและมีประวัติความเป็นมาแตกต่างจากศาสนาพุทธโดย สิ้นเชิง 

ศาสตร์ตะวันตกศึกษาไปนอกตัวเพื่อที่จะหาทางเอาชนะธรรมชาติ ส่วนศาสนาพุทธศึกษาเข้าไปในตัว เพื่อทำตัวให้เข้ากับธรรมชาติได้ และจะบรรลุจะมุ่งหมายสูงสุดได้ เมื่อพัฒนาจิตสูงขึ้นไปเรื่อยๆ 

ศาสตร์ตะวันตกนั้น จะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ทำให้มนุษย์เกิดกิเลส เกิดการสะสมและเบียดเบียนสิ่งแวดล้อม สัตว์ และมนุษย์อื่นๆ ด้วย แต่ศาสนาพุทธจะสอนให้มนุษย์ละกิเลส ไม่เบียดเบียนให้ และให้ความรักความเมตตากับสิ่งแวดล้อม สัตว์ และมนุษย์อื่นๆ

ในกรณีที่ความรู้บางประการของศาสนาพุทธกับวิทยาศาสตร์สอดคล้องกัน เช่น ไอน์สไตน์พบว่า เวลาของแต่ละที่แต่ละแห่งไม่เท่ากัน ก็สอดคล้องกับเรื่องเวลาของนรก-สวรรค์ มนุษย์ พรหม อรูปพรหม หรือ นรก-สวรรค์ของศาสนาพราหมณ์ก็คล้ายกันกับของศาสนาพุทธ เป็นต้น  ผู้เขียนขออธิบายดังนี้

องค์ความรู้หลักๆ ในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นศาสนาใดๆ ปรัชญา และวิทยาศาสตร์ต่างก็มีจุดหมายปลายทางเดียวกันคือ หาความเป็นจริงแท้ (Ultimate Reality) ของธรรมชาติ ซึ่งก็คือ ความเป็นจริงแท้ของโลกหรือของจักรวาลหรือของภพ (Verse) นั่นเอง

เพื่อให้คำอธิบายของผู้เขียนอ่านแล้วเข้าใจง่ายขึ้น ผู้เขียนจึงขอตั้งสมมุติฐานแคบๆ ว่า ศาสนา ปรัชญา และวิทยาศาสตร์ต่างก็ต้องการหาความเป็นจริงแท้ของโลก

สมมุติว่า ความเป็นจริงแท้ของโลกเป็นภูเขาลูกหนึ่ง ซึ่งสามารถเดินทางเข้าหาได้จากทุกทิศทุกทาง  แต่สภาพของภูมิประเทศในการเข้าหาภูเขาลูกดังกล่าว ยากลำบากแตกต่างกันไป กล่าวคือ อาจจะมีหุบเหว อาจจะมีเทือกเขาสูงกั้นอยู่ระหว่างทาง อาจจะมีเมฆหมอกบดบังจนไม่เห็นทัศนะวิสัยรอบข้างบ้างในช่วงหนึ่งของการเดินทาง ฯลฯ เป็นต้น

การที่มีจุดหมายปลายทางเดียวกัน ถึงหนทางเข้าหาจะแตกต่างกัน การที่ในระหว่างทางนั้น องค์ความรู้ต่างๆ จะพบความจริง (Truth) ที่สอดคล้องกัน จึงมีความเป็นไปได้ 

แต่ในกรณีที่ผู้เขียนเป็นชาวพุทธ จึงขอยืนยันว่า ในการบรรลุความสำเร็จเพื่อให้พบความเป็นจริงแท้ของโลกนั้น  องค์ความรู้ของศาสนาพุทธเพียงประการเดียวเท่านั้นที่สามารถบรรลุผลสำเร็จ ได้  องค์ความรู้ของปรัชญา วิทยาศาสตร์ และศาสนาอื่นๆ ไม่สามารถกระทำได้

สรุป
องค์ความรู้ทั้ง 3 ประการดังกล่าว ไม่ว่าใครจะสนใจหรือไม่ ก็ต้องส่งผลต่อบุคคลนั้นๆ เสมอ เพราะ มนุษย์ทั้งหลายต่างก็เป็นสมาชิกหนึ่งในสังคม

ในเมื่อสังคมไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลขององค์ความรู้ทั้ง 3 นั้น การที่จะถูกอิทธิพลขององค์ความรู้ใดมากกว่าองค์ความรู้อื่นๆ นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง 

บางคนสมาทานศรัทธาเชื่อวิทยาศาสตร์เก่าอย่างหัวปักหัวปำ ปฏิเสธองค์ความรู้อื่นๆ ทั้งหมด บุคคลเหล่านี้ ถ้าพิจารณาในทางศาสนาพุทธแล้ว เกิดมามืดบอดเสียเวลาไปโดยไร้ประโยชน์ ในทางที่ถูกต้องแล้ว เราควรที่จะเชื่อองค์ความรู้ใดก็ตามความเชี่ยวชาญขององค์ความรู้นั้นๆ

ถ้าเป็นเรื่องกายภาพทั่วๆ ไปก็ควรจะที่เชื่อวิทยาศาสตร์ ถ้าเป็นเรื่องของจิตใจก็ควรที่จะเชื่อศาสนา  ถ้ามีปัญหาที่ต้องการข้อยุติอย่างมีเหตุผลก็ควรที่จะเชื่อปรัชญา...

บทความในชุดเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น